วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

Kalimba เครื่องดนตรีที่ทุกคนจะหลงรัก

Kalimba เครื่องดนตรีที่ทุกคนจะหลงรัก






                                            

                        สวัสดีค่ะ วันนี้พีชมีโอกาสได้เขียนบทความ เลยอยากจะเขียนเกี่ยวกับเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ตัวเองได้เล่น ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงกุ้๊งกิ๊ง ๆ คล้ายกล่องดนตรีที่ติดกับตุ๊กตาขาไขลาน มีชื่อว่า Kalimba(คาลิมบา)นั่นเอง เเละพีชเองก็เชื่อว่าหลายคนเมื่อได้ยินเสียงเจ้าคาลิมบาเเล้ว จะหลงรักเครื่องดนตรีชิ้นนี้เหมือนกับเรา^^
                

                หลายคนอาจจะพึ่งรู้จักกับเครื่องดนตรีชนิดนี้ จะขอเล่าประวัติและแหล่งที่มาให้ทุกคนได้ทราบกันนะคะ

      


                 คาลิมบาเป็นเครื่องดนตรีที่มีต้นกำเนิดจากแอฟริกา เมื่อราว 3,000 ปี เป็นที่รู้จักโดย Hugh Tracey นักดนตรีชาวอังกฤษที่ตกหลุมรักดนตรีกลุ่มที่เรียกว่า “Thumb Pianos” หรือเปียโนที่ใช้นิ้วโป้งในการเล่น เจ้า Kalimba มีหลายชื่อเรียก ชนิดนี้มี เช่น Mbira, Kalimba, Sansa, Karimba แรกเริ่มเดิมทีนั้นจะผลิตจากวัสดุธรรมชาติ เช่นไม้ หรือ ไม้ไผ่ โดยเริ่มมีวิวัฒนาการเป็นเหล็กเมื่อประมาณ 1,300 ปีที่ผ่านมานี้เอง 
                คาลิมบาเป็นเครื่องดนตรีที่มีเอกลักษณ์หลายอย่างเช่น มีขนาดเล็กกระทัดรัด พกพาง่าย สามารถนำไปเล่นได้ในทุกที่ มีเสียงที่ดูสดใส กรุ๊งกริ๊ง ๆ เมื่อได้ฟังก็จะรู้สึกผ่อนคลาย แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นก็คือการวางระบบโน้ต ที่สลับกันซ้ายและขวา ทำให้เจ้าคาลิมบานั้นสามารถเล่นโน้ตเเละคอร์ดพร้อมกันได้เหมือนเปียโน สามารถกรีดนิ้ว มีเอฟเฟค ลูกเล่นตาง ๆ มากมาย เเละเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมในต่างประเทศ จนปัจจุบันได้เเพร่หลายเข้ามาในไทย มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า เปียโนนิ้วโป้ง หรือเปียโนนิ้วหัวเเม่มือ



                  ต่อไปนี้เค้าจะมารีวิวเจ้าคาลิมบา 2 แบบ เป็นคาลิมบา 17 คีย์ มีเเบบอคลิลิกใส รูปแมว ของ Nalu และเเบบกล่องไม้ไผ่ มาให้ชมกันนะคะ







เบบเเรกอคลิลิกใส รูปแมว ของ Nalu





                          เชื่อว่าหลายคนที่เป็นทาสเเมว คงจะตกหลุมรักและเจ้าคาลิมบาตัวนี้เเน่ ๆ  เอกลักษณ์ของคาลิมบาตัวนี้คือ มีรูปทรงเป็นรูปหน้าน้องเหมียว ที่น่ารัก เย้ายวนใจ วัสดุทำด้วยอะคลิลิกหนักประมาณ500-800กรัม เมื่อเล่นไปนาน ๆ ก็อาจจะทำให้เมื่อยล้าได้  ส่วนภายในไม่มีช่องหรือกล่องเสียง ทำให้มีเสียงใสและมีน้ำหนักเบา 



เเบบที่สองเป็นเเบบกล่องไม้ไผ่ 






                    คาลิมบาแบบกล่อง วัสดุทำจากไม้ไผ่ ด้านในโปร่ง มีช่องระบายเสียง กับรูปทรงที่ดูเรียบง่าย และมีน้ำหนักเบามาก  เอกลักษณ์ของคาลิมบาตัวนี้จะเด่นในหลายๆเรื่องคือ 1. มีคลื่นเสียงและการสั่นสะเทือน ซึ่งเกิดจากที่ลักษณะภายในเป็นกล่องโปร่งทึบ ทำให้เกิดความกังวานเเละทุ้มต่ำมากกว่าแบบเเรก  2. มีเสียงที่ดังกว่าเเบบเเรก 2-3 เท่า 3. สามารถทำเทคนิค คลื่นเสียงสั่นได้ ลักษณะเสียงจะวาว ๆ เเละเป็นเหมือนคลื่นเสียงสั่นเป็นช่วงสั้น ๆ  
                       
                 หลังจากที่ได้เล่นทั้งสองเเบบ เค้าชอบน้องเหมียวมากกว่า เพราะมีรูปทรงที่น่ารัก ส่วนตัวเป็นทาสเเมวอยู่เเล้วอิอิ เอาเป็นว่าทั้งสองมีเอกลักษณืที่เเตกต่างกัน เราอาจจะเลือกเพลงให้เหมาะสมในเเต่ละตัวได้ เช่นถ้าหากเราต้องการเพลงน่ารักๆ สดใสๆ ก็เลือกคาลิมบาเเบบอคลิลิกใส แต่ถ้าหากบางเพลงมีจังหวะที่ช้า อยากได้ความกังวานเพิ่มขึ้น ก็เลือกคาลิมบาแบบกล่องได้ค่ะ สุดท้ายนี้ ทุกตัวเสียงดีหมดค่ะ อยู่ที่ความชอบของเราว่าอยากจะได้เเบบไหน ตามเเต่สะดวกค่ะ ^^
เสริมอย่างหนึ่งนะคะ สำหรับคาลิมบาแบบกล่องไม้นั้น โดยเฉพาะไม้ไผ่จะมีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์มากถ้าเป็นกล่องไม้ส่วนตัวชอบไม้ไผ่มากที่สุดค่ะ



สุดท้ายมีคลิปวีดีโอทั้งสองเเบบมาให้ชมกันนะคะ

   
จะเห็นได้ว่าเเบบอคลิลิกนั้นเสียงจะใสกว่า


ส่วนแบบกล่องไม้ไผ่เสียงจะทุ้ม นุม และใส 




  ขอบคุณที่เยี่ยมชมนะคะ 
 ติดตามผลงานผ่านทาง
 Facebook : Peach phitchaya
 Instagram : Peach__Phitchaya ^^


วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เครื่องฟอกอากาศ



จุดขายของเจ้า Xiaomi Air Purifier 2S

  • ฟอกอากาศได้ 310m³/h (ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง)
  • ไส้กรองอากาศราคาไม่แพง เปลี่ยนเองได้ด้วย
  • ใช้เลเซอร์ในการวัดค่าฝุ่นในอากาศ

  • มีจอ OLED แสดงรายละเอียดและสถานะต่างๆ และสามารถหรี่แสงเองตอนมืดได้
  • เชื่อมต่อกับแอปฯ Mi Home ผ่านสมาร์ทโฟนได้
  • ขนาดตัวเครื่อง 24 x 24 x 52 เซนติเมตร น้ำหนักรวมไส้กรองแล้วแค่ 4.5 กิโลกรัม

รูปลักษณ์ภายนอก

Xiaomi Air Purifier 2S ขณะทำงาน
ภายนอกออกแบบมาได้ดูเรียบแต่หรูไม่เหมือนเครื่องฟอกอากาศในยุคก่อน มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมขอบมน ผิวสัมผัสเป็นพลาสติกสีขาวแบบด้านดูสะอาดสะอ้าน
หน้าจอแสดงผลของ Xiaomi Air Purifier 2S
จอแสดงผลเป็น OLED แบบวงกลม แสดงค่าฝุ่นในอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น สถานะการเชื่อมต่อ โหมดการทำงาน เรียงจากซ้ายไปขวา
ช่องดูดอากาศของ Xiaomi Air Purifier 2S
ตัวเครื่องสามารถดูดอากาศเข้าได้ 3 ด้าน คือ ด้านหน้า ซ้ายและขวา แต่ละด้านมีรูอยู่คล้ายกับตาข่ายจนทำให้มองเห็นไส้กรองด้านในเลยทีเดียว
ด้านบนของ Xiaomi Air Purifier 2S
หลังจากอากาศไหลผ่านไส้กรองแล้ว จะถูกปล่อยออกทางด้านบนด้วยใบพัดที่มีตะแกรงครอบอีกชั้นเพื่อป้องกันอันตราย ด้านขวาเป็นตำแหน่งของปุ่มเปิด-ปิดเครื่องและเซ็นเซอร์วัดแสง
เซ็นเซอร์และปุ่มด้านหลังของ Xiaomi Air Purifier 2S
ด้านหลังเครื่องจะเป็นตำแหน่งของปุ่มเปิด-ปิดจอแสดงผลด้านหน้า ส่วนด้านล่างเป็นเซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดค่าฝุ่นละอองในอากาศ ที่สามารถวัดฝุ่นขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอนได้
ด้านหลังของ Xiaomi Air Purifier 2S ตอนเปิดฝาแล้ว
ด้านล่างเซ็นเซอร์วัดฝุ่นจะเป็นฝาหลังสำหรับเปิดเพื่อเปลี่ยนไส้กรองอากาศ เวลาที่ต้องการจะเปลี่ยนไส้กรองเราก็แค่บีบที่จับเพื่อเปิดฝาหลัง จากนั้นดึงกรองเก่าออกมา ใส่กรองใหม่เข้าไปแทนที่แค่นี้เอง

ไส้กรอง

ไส้กรองทั้ง 3 แบบ
ไส้กรองของ Xiaomi มีอยู่ 3 แบบด้วยกัน แต่ละแบบก็ใช้งานแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของเรา เวลาที่สามารถใช้งานของไส้กรองได้อยู่ที่ 4,000 ชั่วโมง ค่าตัวตกประมาณอันละ 1,000 บาทเท่านั้น
  • Standard (สีฟ้า) อันนี้โรงงานแถมมาให้
  • Anti-Bacteria (สีม่วง) อันนี้ช่วยในการฆ่าแบคทีเรียที่ลอยอยู่ในอากาศได้
  • Anti-Formaldehyde (สีเขียว) อันนี้ช่วยลดกลิ่นของสีงานพิมพ์ การสกรีนพลาสติก รวมถึงสีทาบ้าน

การใช้งาน

ตัวเครื่องมาพร้อมโหมดการใช้งานทั้งหมด 3 แบบด้วยกัน (แนะนำให้โหลดแอปฯ Mi Home มาก่อนเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดครับ)
หน้าจอขณะเปลี่ยนเป็นโหมด Auto
โหมด Auto เป็นโหมดที่เครื่องควบคุมการทำงานเอง ความเร็วของใบพัดจะขึ้นอยู่กับปริมาณฝุ่นที่เครื่องวัดได้ ยิ่งฝุ่นเยอะใบพัดจะหมุนเร็วขึ้น เสียงดังขึ้น แต่ถ้าฝุ่นในอากาศน้อย (< 30) เราแทบจะไม่ยินเสียงเครื่องเลยครับ
หน้าจอขณะเปลี่ยนเป็นโหมด Sleep
โหมด Night เป็นโหมดสำหรับคนต้องการความเงียบ ซึ่งปกติแล้วโหมด Auto ก็เงียบมากอยู่แล้ว
หน้าจอขณะเปลี่ยนเป็นโหมด Favorite
โหมด Favorite เป็นโหมดที่เกิดมาสำหรับให้เราควบคุมความเหมาะสมของเครื่องเอง โดยจะต้องใช้กับแอปฯถึงจะสามารถปรับขนาดของพื้นที่ห้องเพื่อเร่ง-ลดความเร็วของใบพัดและความสามารถในการฟอกอากาศ
หน้าแอปฯ Mi Home กับหน้าจอของ Xiaomi Air Purifier 2S
หน้าจอมือถือเวลาเปิดแอปฯเทียบกับหน้าจอของตัวเครื่อง ยังแสดงผลได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก ยังมีความเหลื่อมกันอยู่นิดหน่อย
การใช้ Xiaomi Air Purifier 2S กับ Google Home
สำหรับใครที่มี Google Home อยู่สามารถสั่งเจ้านี่ด้วยเสียงได้อีกต่างหาก ใครที่ใช้แค่โหมด Auto แบบผม เรียกว่าลืมแอปฯ Mi Home ไปเลยหละ เพราะสั่งแค่เปิด-ปิดเครื่องผ่าน Google Assistant ก็เพียงพอแล้ว

3 เดือนหลังจากใช้งานจริงกับ Xiaomi Air Purifier 2S

ปกติผมตั้งเจ้านี่ไว้แค่ในห้องนอน จะเปิดเครื่องเฉพาะตอนก่อนนอนที่โหมด Auto ซึ่งหลังจากใช้งานมา 3 เดือนรู้สึกได้ว่าตอนตื่นมาไม่ค่อยแสบจมูกเหมือนช่วงก่อนหน้านี้ แต่เรื่องที่ประหลาดใจคือหลังจากเปิดไส้กรองมาดูแล้วพบว่ามันไม่ได้สกปรกอย่างที่คาดไว้เลยซักนิด เลยไม่แน่ใจว่าเครื่องนี้จะดีจริงรึเปล่าหรืออาจจะเป็นที่ห้องนอนมีฝุ่นน้อยก็เป็นไปได้
ไส้กรองหลังจากใช้งานมา 3 เดือน
ไม่เพียงแค่นั้นตรงฐานของไส้กรองเจอฝุ่นเกาะอยู่บานเลย แสดงให้เห็นเจ้านี่ไม่ได้สามารถที่จะดูดฝุ่นที่เกาะอยู่บนพื้นผิวขึ้นมาได้เลย
รอบฐานฟิลเตอร์ยังเต็มไปด้วยฝุ่น

ข้อดี

  • ดีไซน์สวย ใช้เป็นของแต่งบ้านยังได้
  • ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับความสามารถที่ได้
  • ตัวเครื่องทำงานเงียบมาก
  • เปลี่ยนไส้กรองได้หลายแบบและราคาไม่แพง
  • สามารถสั่งงานผ่าน Mi Home และ Google Assistant ได้

ข้อเสีย

  • แอปฯ Mi Home ยังไม่รองรับพื้นที่ประเทศไทยและยังมีดีเลย์อยู่บ้าง
  • มีบางจังหวะวัดค่าฝุ่นในอากาศเพี้ยนอยู่บ้าง ปกติค่าที่วัดได้อยู่ที่เลขหลักเดียว แต่อยู่ดีๆก็ขึ้นไปถึง 70 กว่าแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยซะงั้นทำให้เครื่องทำงานเสียงดังขึ้นมาดื้อๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://kitchenrai.com/xiaomi-air-purifier-2s/