9F%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8+xiaomi&tbm=isch&ved=2ahUKEwiL1fLHlOznAhUVFHIKHYpGBHcQ2cCegQIABAA&oq=%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0
จุดขายของเจ้า Xiaomi Air Purifier 2S
- ฟอกอากาศได้ 310m³/h (ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง)
- ไส้กรองอากาศราคาไม่แพง เปลี่ยนเองได้ด้วย
- ใช้เลเซอร์ในการวัดค่าฝุ่นในอากาศ
- มีจอ OLED แสดงรายละเอียดและสถานะต่างๆ และสามารถหรี่แสงเองตอนมืดได้
- เชื่อมต่อกับแอปฯ Mi Home ผ่านสมาร์ทโฟนได้
- ขนาดตัวเครื่อง 24 x 24 x 52 เซนติเมตร น้ำหนักรวมไส้กรองแล้วแค่ 4.5 กิโลกรัม
รูปลักษณ์ภายนอก

ภายนอกออกแบบมาได้ดูเรียบแต่หรูไม่เหมือนเครื่องฟอกอากาศในยุคก่อน มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมขอบมน ผิวสัมผัสเป็นพลาสติกสีขาวแบบด้านดูสะอาดสะอ้าน

จอแสดงผลเป็น OLED แบบวงกลม แสดงค่าฝุ่นในอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น สถานะการเชื่อมต่อ โหมดการทำงาน เรียงจากซ้ายไปขวา

ตัวเครื่องสามารถดูดอากาศเข้าได้ 3 ด้าน คือ ด้านหน้า ซ้ายและขวา แต่ละด้านมีรูอยู่คล้ายกับตาข่ายจนทำให้มองเห็นไส้กรองด้านในเลยทีเดียว

หลังจากอากาศไหลผ่านไส้กรองแล้ว จะถูกปล่อยออกทางด้านบนด้วยใบพัดที่มีตะแกรงครอบอีกชั้นเพื่อป้องกันอันตราย ด้านขวาเป็นตำแหน่งของปุ่มเปิด-ปิดเครื่องและเซ็นเซอร์วัดแสง

ด้านหลังเครื่องจะเป็นตำแหน่งของปุ่มเปิด-ปิดจอแสดงผลด้านหน้า ส่วนด้านล่างเป็นเซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดค่าฝุ่นละอองในอากาศ ที่สามารถวัดฝุ่นขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอนได้

ด้านล่างเซ็นเซอร์วัดฝุ่นจะเป็นฝาหลังสำหรับเปิดเพื่อเปลี่ยนไส้กรองอากาศ เวลาที่ต้องการจะเปลี่ยนไส้กรองเราก็แค่บีบที่จับเพื่อเปิดฝาหลัง จากนั้นดึงกรองเก่าออกมา ใส่กรองใหม่เข้าไปแทนที่แค่นี้เอง
ไส้กรอง

ไส้กรองของ Xiaomi มีอยู่ 3 แบบด้วยกัน แต่ละแบบก็ใช้งานแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของเรา เวลาที่สามารถใช้งานของไส้กรองได้อยู่ที่ 4,000 ชั่วโมง ค่าตัวตกประมาณอันละ 1,000 บาทเท่านั้น
- Standard (สีฟ้า) อันนี้โรงงานแถมมาให้
- Anti-Bacteria (สีม่วง) อันนี้ช่วยในการฆ่าแบคทีเรียที่ลอยอยู่ในอากาศได้
- Anti-Formaldehyde (สีเขียว) อันนี้ช่วยลดกลิ่นของสีงานพิมพ์ การสกรีนพลาสติก รวมถึงสีทาบ้าน
การใช้งาน
ตัวเครื่องมาพร้อมโหมดการใช้งานทั้งหมด 3 แบบด้วยกัน (แนะนำให้โหลดแอปฯ Mi Home มาก่อนเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดครับ)

โหมด Auto เป็นโหมดที่เครื่องควบคุมการทำงานเอง ความเร็วของใบพัดจะขึ้นอยู่กับปริมาณฝุ่นที่เครื่องวัดได้ ยิ่งฝุ่นเยอะใบพัดจะหมุนเร็วขึ้น เสียงดังขึ้น แต่ถ้าฝุ่นในอากาศน้อย (< 30) เราแทบจะไม่ยินเสียงเครื่องเลยครับ

โหมด Night เป็นโหมดสำหรับคนต้องการความเงียบ ซึ่งปกติแล้วโหมด Auto ก็เงียบมากอยู่แล้ว

โหมด Favorite เป็นโหมดที่เกิดมาสำหรับให้เราควบคุมความเหมาะสมของเครื่องเอง โดยจะต้องใช้กับแอปฯถึงจะสามารถปรับขนาดของพื้นที่ห้องเพื่อเร่ง-ลดความเร็วของใบพัดและความสามารถในการฟอกอากาศ

หน้าจอมือถือเวลาเปิดแอปฯเทียบกับหน้าจอของตัวเครื่อง ยังแสดงผลได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก ยังมีความเหลื่อมกันอยู่นิดหน่อย

สำหรับใครที่มี Google Home อยู่สามารถสั่งเจ้านี่ด้วยเสียงได้อีกต่างหาก ใครที่ใช้แค่โหมด Auto แบบผม เรียกว่าลืมแอปฯ Mi Home ไปเลยหละ เพราะสั่งแค่เปิด-ปิดเครื่องผ่าน Google Assistant ก็เพียงพอแล้ว
3 เดือนหลังจากใช้งานจริงกับ Xiaomi Air Purifier 2S
ปกติผมตั้งเจ้านี่ไว้แค่ในห้องนอน จะเปิดเครื่องเฉพาะตอนก่อนนอนที่โหมด Auto ซึ่งหลังจากใช้งานมา 3 เดือนรู้สึกได้ว่าตอนตื่นมาไม่ค่อยแสบจมูกเหมือนช่วงก่อนหน้านี้ แต่เรื่องที่ประหลาดใจคือหลังจากเปิดไส้กรองมาดูแล้วพบว่ามันไม่ได้สกปรกอย่างที่คาดไว้เลยซักนิด เลยไม่แน่ใจว่าเครื่องนี้จะดีจริงรึเปล่าหรืออาจจะเป็นที่ห้องนอนมีฝุ่นน้อยก็เป็นไปได้

ไม่เพียงแค่นั้นตรงฐานของไส้กรองเจอฝุ่นเกาะอยู่บานเลย แสดงให้เห็นเจ้านี่ไม่ได้สามารถที่จะดูดฝุ่นที่เกาะอยู่บนพื้นผิวขึ้นมาได้เลย

ข้อดี
- ดีไซน์สวย ใช้เป็นของแต่งบ้านยังได้
- ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับความสามารถที่ได้
- ตัวเครื่องทำงานเงียบมาก
- เปลี่ยนไส้กรองได้หลายแบบและราคาไม่แพง
- สามารถสั่งงานผ่าน Mi Home และ Google Assistant ได้
ข้อเสีย
- แอปฯ Mi Home ยังไม่รองรับพื้นที่ประเทศไทยและยังมีดีเลย์อยู่บ้าง
- มีบางจังหวะวัดค่าฝุ่นในอากาศเพี้ยนอยู่บ้าง ปกติค่าที่วัดได้อยู่ที่เลขหลักเดียว แต่อยู่ดีๆก็ขึ้นไปถึง 70 กว่าแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยซะงั้นทำให้เครื่องทำงานเสียงดังขึ้นมาดื้อๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://kitchenrai.com/xiaomi-air-purifier-2s/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น